ธาตุหมู่
|
I
|
II
|
II
|
IV
|
V
|
VI
|
VII
|
ประจุบนไอออน
|
+1
|
+2
|
+3
|
-4
|
-3
|
-2
|
-1
|
การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก
1. เขียนไอออนบวกของโลหะหรือกลุ่มไอออนบวกไว้ข้างหน้า
ตามด้วยไอออนลบของอโลหะหรือกลุ่มไอออนลบ
2. ไอออนบวกและไอออนลบ
จะรวมกันในอัตราส่วนที่ทำให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์
ดังนั้นจึงต้องหาตัวเลขมาคูณกับจำนวนประจุบนไอออนบวกและไอออนลบให้มีจำนวนเท่ากัน
แล้วใส่ตัวเลขเหล่านั้นไว้ที่มุมขวาล่างของแต่ละไอออน
ซึ่งทำได้โดยใช้จำนวนประจุบนไอออนบวกและไอออนลบคูณไขว้กัน
3. ถ้ากลุ่มไอออนบวกหรือไอออนลบมีมากกว่า
1 กลุ่ม ให้ใส่วงเล็บ ( )
และใส่จำนวนกลุ่มไว้ที่มุมล่างขวาล่าง ดังตัวอย่าง
การอ่านชื่อสารประกอบไอออนิก
1. สารประกอบธาตุคู่ ถ้าสารประกอบเกิดจาก
ธาตุโลหะที่มีไอออนได้ชนิดเดียวรวมกับอโลหะ ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวก
แล้วตามด้วยชื่อธาตุอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide)
เช่น
อออซิเจน
เปลี่ยนเป็น ออกไซด์ (oxide)
|
ไฮโดรเจน
เปลี่ยนเป็น ไฮไดรด์ (hydride)
|
คลอรีน
เปลี่ยนเป็น คลอไรด์ (chloride)
|
ไอโอดีน
เปลี่ยนเป็น ไอโอไดด์ (iodide)
|
ตัวอย่างการอ่านชื่อสารประกอบไอออนิกธาตุคู่
NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์ (Sodium chloridr)
|
CaI2 อ่านว่า แคลเซียมไอโอไดด์ (Calcium iodide)
|
KBr อ่านว่า โพแทสเซียมโบรไมด์ (Potascium bromide)
|
CaCl2 อ่านว่า แคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride)
|
ถ้าสารประกอบที่เกิดจากธาตุโลหะเดีนวกันที่มีไอออนได้หลายชนิด
รวมตัวกับอโลหะ
ให้อ่านชื่อโลหะที่เป็นไอออนบวกแล้วตามด้วยค่าประจุของไอออนของโลหะโดยวงเล็บเป็นเลขโรมัน
แล้วตามด้วยอโลหะที่เป็นไอออนลบ โดยเปลี่ยนเสียงพยางค์ท้ายเป็น ไอด์ (ide) เช่น Fe เกิดไอออนได้ 2
ชนิดคือ Fe 2+ และ Fe 3+ และCu เกิดอิออนได้ 2
ชนิดคือ Cu + และ Cu 2+ สารประกอบที่เกิดขึ้นและการอ่านชื่อ
ดังนี้
FeCl2 อ่านว่า ไอร์ออน (II) คลอไรด์ ( Iron (II)
chloride )
|
CuS อ่านว่า คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์ ( Cupper (I)
sunfide )
|
FeCl3 อ่านว่า ไอร์ออน (III) คลอไรด์ ( Iron
(III) chloride )
|
Cu2S
อ่านว่า คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์ ( Copper
(II) sunfide )
|
2. สารประกอบธาตุสามหรือมากกว่า ถ้าสารประกอบเกิดจากไอออนบวกของโลหะ
หรือกลุ่มไอออนบวกรวมตัวกับกลุ่มไอออนลบ
ให้อ่านชื่อไอออนบวกของโลหะหรือชื่อกลุ่มไอออนบวก แล้วตามด้วยกลุ่มไอออนลบ เช่น
CaCO3 อ่านว่า แคลเซียมคาร์บอนเนต (Calcium carbonatX
|
KNO3 อ่านว่า โพแทสเซียมไนเตรต (Potascium nitrae)
|
Ba(OH)2 อ่านว่า แบเรียมไฮดรอกไซด์ (Barium hydroxide)
|
(NH4)3PO4 อ่านว่า แอมโมเนียมฟอสเฟต (Ammomium pospate)
|
พลังงานกับการเกิดพันธะไอออนิก
ในการเกิดพันธะไอออนิกหรือสารประกอบไปออนิก
จะมีการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนด้วยกัน
แต่จะมีกี่ขั้นขึ้นอยู่กับสมบัติของสารตั้งต้นและแต่ละขั้นตอนย่อยๆจะมีพลังงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วย
ดังตัวอย่างการเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) มีขั้นตอนดังนี้
1.
|
โลหะโซเดียมที่อยู่ในสถานะของแข็งระเหิดกลายเป็นไอ
(กลายเป็นอะตอมในสถานะก๊าซ) ขั้นนี้ต้องใช้พลังงาน หรือดูดพลังงานเท่ากับ 109
kJ/mol เรียกพลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ว่าพลังงานการระเหิด (Heat
of siblimation) สัญลักษณ์ "△Hs" หรือ
"S"
|
2.
|
โมเลกุลของคลอรีน (Cl2(g)) ซึ่งอยู่ในสถานะก๊าซแตกตัวออกเป็นอะตอมในสถานะก๊าซ
(Cl(g))
1/2Cl2(g) + 242 kJ
-------------------> 2Cl(g)
แต่ในการเกิด NaCl(s) 1 mol ต้องใช้ Cl(g)
เพียง 1 mol ดังนั้น
1/2Cl2(g) +121 kJ-------------------->Cl(g).........(2)
ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานหรือดูดพลังงานเท่ากับ
121 kJ เรียกพลังงานที่ใช้ในขั้นนี้ว่า พลังงานสลายพันธะ
หรือพลังงานการแตกตัว (Bond Dissociation energy) สัญลักษณ์
"△Hdis" หรือ
"d"
|
3.
|
อะตอมของโซเดียมในสถานะก๊าซ เสีย 1 เวเลนซ์อิเลคตรอน กลายเป็นโซเดียมไอออนในสถานะก๊าซ
ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานหรือดูดพลังงาน 494 kJ/mol เรียกพลังงานที่ใข้ในขั้นนี้ว่า
พลังงานไอออไนเซชั่น(Ionization Energy) สัญลักษณ์ "IE"
หรือ "I"
|
4.
|
คลอรีนอะตอมในสถานะก๊าซรับอิเลคตรอนกลายเป็นคลอไรด์ไอออนในสถานะก๊าซ(Cl-(g))
ขั้นนี้คายพลังงานออกมา 347 kJ/mol พลังงานที่คายออกมาในขั้นนี้เรียกว่า
อิเลคตรอนอัฟฟินิตีหรือสัมพรรคภาพอิเลคตรอน (Electron Affinity) สัญลักษณ์ E หรือ EA
|
5.
|
โซเดียมไอออนในสถานะก๊าซ
และคลอไรด์ไอออนในสถานะก๊าซรวมตัวกันด้วยพันธะไอออนิกได้ผลึกโซเดียมครอไรด์ (NaCl(s))
ขั้นนี้คายพลังงานออกมา 787 kJ/mol พลังงานที่คายออกมาในขั้นนี้เรียกว่าพลังงานแลคทิซ
หรือพลังงานโครงร่างผลึก (Lattic Energy) สัญลักษณ์ U
หรือ Ec
พลังงานที่คายออกมาเรียกว่า
พลังงานของปฏิกิริยาหรือความร้อนของปฏิกิริยาหรือความร้อนของการเกิดสาร
สัญลักษณ์ "Hf"
หมายเหตุ
การเกิดสารประกอบไอออนิกอาจคายหรือดูดพลังงานก็ได้แต่มักจะคายพลังงาน
|
สมบัติของสารประกอบไอออนิก
1. มีขั้ว เพราะสารประกอบไอออนิกไม่ได้เกิดขึ้นเป็นโมเลกุลเดี่ยว แต่จะเป็นของแข็งซึ่งประกอบด้วยไอออนจำนวนมาก ซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงยึดเหนี่ยวทางไฟฟ้า
2. ไม่นำไฟฟ้าเมื่ออยู่ในสภาพของแข็ง แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อใส่สารประกอบไอออนิกลงในน้ำ ไอออนจะแยกออกจากกัน ทำให้สารละลายนำไฟฟ้าในทำนองเดียวกันสารประกอบที่หลอมเหลวจะนำไฟฟ้าได้ด้วยเนื่องจากเมื่อหลอมเหลวไอออนจะเป็นอิสระจากกัน เกิดการไหลเวียนอิเล็กตรอนทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่จึงเกิดการนำไฟฟ้า
3 . มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดสูง ความร้อนในการทำลายแรงดึงดูดระหว่างไอออนให้กลายเป็นของเหลวต้องใช้พลังงานสูง
ตารางแสดงจุดหลอมเหลว และจุดเดือดของสารประกอบไอออนิกบางชนิด
สารประกอบไอออนิก สูตรโมเลกุล จุดหลอมเหลว (๐C) จุดเดือด (๐C)
โซเดียมไฮดรอกไซด์ NaOH 318 1390
โพแทสเซียมไนเดรต KNO3 334 400
แคลเซียมคลอไรด์ CaCl2 772 มากกว่า 1600
โซเดียมคลอไรด์ NaCl 801 1465
อะลูมิเนียมออกไซด์ Al2O3 2054 2980
แมกนีเซียมออกไซด์ MgO 2800 3600
4 . สารประกอบไอออนิกทำให้เกิดปฏิกิริยาไอออนิก คือ ปฏิกิริยาระหว่างไอออนกับไอออน ทั้งนี้เพราะสารไอออนิกจะเป็นไอออนอิสระในสารละลาย ปฏิกิริยาจึงเกิดทันที
5 . สมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก สารประกอบไอออนิกเกิดจากไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามรอบ ๆ ไอออนแต่ละไอออนจะมีสนามไฟฟ้าซึ่งไม่มีทิศทาง จึงทำให้เกิดสมบัติไม่แสดงทิศทางของพันธะไอออนิก
6. เป็นผลึกแข็ง แต่เปราะและแตกง่าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น